SATUN GEOPARK



Fossil In Satun

อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่  และชายหาดที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับพื้นที่แห่งนี้
            ผืนดินแห่งนี้เป็นบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่า เกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้น ต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขาและถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่ และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์
           ด้วยความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศและธรรมชาติของอุทยานธรณีสตูล ก่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวแนวผจญภัย เช่น ล่องแก่ง ดำน้ำ เที่ยวถ้ำ การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่น้ำตก ชายหาด รวมถึงเลือกซื้อของฝากผลิตภัณฑ์ชุมชนและสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย

เรื่องราวของอุทยานธรณีสตูลพื้นที่มะนัง
➥ลานหินป่าพน
เป็นพื้นที่สวนหย่อมในเขตโรงเรียนบ้านป่าพนประกอบไปด้วยก้อนหินที่มีการจัดวางตำแหน่งดั้งเดิมตามธรรมชาติมีการจัดทำทางเดินและจัดภูมิทัศน์อย่างสวยงามร่มรื่นก้อนหินที่โผล่ให้เห็นเป็นหินปูนที่มีลักษณะเป็นชั้นที่เกิดจากการก่อตัวของแบคทีเรีย(สโตรมาโตไลต์)อย่างชัดเจนมีอายุประมาณ 450 ล้านปี


 ➥ถ้ำภูผาเพชร
              เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ หินงอกหินย้อยที่พบภายในถ้ำมีความวิจิตรตระการตาเป็นอย่างมากบางบริเวณยังมีน้ำหยด ซึ่งก่อให้เกิดหินงอกหินย้อยได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ผนังถ้ำบางบริเวณยังพบซากดึกดำบรรพ์ของแบคทีเรีย(สโตรมาโตไลต์)และหมึกทะเลโบราณ(นอติลอยด์)ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าหินปูนบริเวณถ้ำภูผาเพชรนี้มีอายุอยู่ในช่วงยุคออร์โดวิเชียนหรือเมื่อประมาณ 450 ล้านปีมาแล้วและยังพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาซึ่งบ่งบอกถึงการเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์


➥น้ำตกวังสายทอง
เป็นน้ำตกที่มีการพอกของคราบหินปูนเป็นแอ่งคล้ายสระน้ำขนาดเล็กนอกเป็นชั้นที่ระดับความสูงต่างๆลดหลั่นกันลงมาอย่างสวยงาม ลักษณะเช่นนี้เกิดจากลำธารที่ไหลผ่านเทือกเขาหินปูนได้นำพาสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนตและตะกอนแขวนลอยมาแล้วเกิดการสะสมนอกตัวเป็นคราบหินปูนนอกจากนคราบหินปูนที่น้ำตกวังสายทองยังมีรูพรุนสูง ทำให้มีตัวยึดเกาะ ช่วยทำให้เดินได้โดยไม่ลื่น


เรื่องราวของอุทยานธรณีสตูลพื้นที่ทุ่งหว้า
➥เขาทะนาน













                                                                                                                                                                                                                                                                      


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                คล้ายเกาะตั้งอยู่บนแผ่นดิน พบซากดึกดำบรรพ์ เช่น ไครนอยด์ ปะการัง ไบรโอชัว หอยกาบคู่ และแบรคิโอพอด มีถ้ำยาว 200 เมตร ส่วนฐานมีลักษณะคอดเว้า บ่งบอกถึงการกัดเซาะของน้ำทะเลที่ขึ้นถึงบริเวณนี้ในอดีต                                                     

                                                                                                                              
➥ถ้ำเลสเตโกดอน
             เป็นถ้ำธารลอดใต้เขาหินปูน มีความยาวประมาณ 3.4 กิโลเมตรพบซากดึกดำบรรพ์ของช้างโบราณสเตโกดอน นักท่องเที่ยวสามารถชมความงามของถ้ำได้ด้วยการล่องเรือคายัคไปตามลำน้ำในถ้ำออกสู่ทะเลแล้วไปขึ้นบกที่ท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าอ้อย ซึ่งท้องที่ได้พัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนให้กับนักท่องเที่ยว


 ➥ซากดึกดำบรรพ์โต๊ะสามยอด
เป็นภูเขาหินปูนลูกโดดขนาดเล็ก ชั้นหินปูนสลับกับชั้นหินปูนเนื้อโคลนที่แสดงลักษณะถูกบีบอัดจนชั้นหินขาดออกจากกันเป็นก้อนทรงมนพบซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ตัวใหญ่ที่ชั้นหินด้านตัดขวางมีซากฝาหอยกาบคู่วางตัวอยู่ในลักษณะคว่ำลงทั้งหมดแสดงถึงเกิดการสะสมตัวบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีอิทธิพลของคลื่นซัดเข้าหาฝั่งทำให้เปลือกหอยส่วนใหญ่พลิกคว่ำลงบนพื้น



เรื่องราวของอุทยานธรณีสตูลพื้นที่ละงู
➥แหล่งซากดึดำบรรพ์เขาน้อย
บ่อหินเก่าสามารถพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลหลากหลายพันธุ์ปรากฏอยู่บนหินชนวนและหินทรายอาทิ แมงดาทะเลโบราณ แกรปโตไลต์ สาหร่ายสโตรมาโตไลต์ หมึกทะเลโบราณบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของทะเลเมื่อ400ปีก่อนจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถพบซากดึกดำบรรพ์ตัวจริงได้ด้วยตัวเอง



➥เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
เดินลัดเลาะเลียบผาก้าวข้ามกาลเวลานับ 100 ล้านปี ผ่านหน้าผาหิน 2 อายุที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน บ่งบอกถึงวิวัฒนาการทางธรณีอันซับซ้อนของอุทยาธรณีสตูลจากก้นทะเลสู่เขาสูงและเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยและโรแมนติกที่สุดจุดหนึ่งของละงู 



➥เขาแดง


แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเลยุคออร์โดวิเชียน(ประมาณ400ล้านปีก่อน)เป็นพื้นที่ที่มีหินก้อนโตๆกองกระจายตัวกว้างไปตามแนวเชิงเขาก้อนหินเหล่านี้เป็นหินปูนสีเทาและสีแดงส้มมีลักษณะเป็นชั้นและมีโครงสร้างสโตรมาโตไลต์อย่างชัดเจนพบซากดึกดำบรรพ์หอยกาบเดียวและนอติลอยด์ในเนื้อหินได้ทั่วไป



เรื่องราวของอุทยานธรณีสตูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
➥เกาะหินงาม
เกาะหินงามเป็นเกาะเล็กๆตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอาดังบริเวณชายหาดประกอบไปด้วยกรวดหินกลมมนสิดานับล้านก้อนก้อนกรวดเหล่านี้ เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของหินแปรชนิดหนึ่งที่เรียกว่า“ หินฮอน์เฟลเมื่อกรวดหินถูกน้ำทะเลสาดใส่มันจะแวววาวและเปล่งประกายสีดำเข้มสะท้อนรับกับแสงตะวันดูงดงามเป็นอย่างยิ่งเชื่อกันว่าหากใครนำหินเหล่านี้ออกไปจากเกาะมักจะประสบกับหายนะในรูปแบบต่างๆนี้คงเป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งหาดหินบริเวณนี้ยังคงรักษาสภาพความสวยงามไว้ได้



ผาชะโด
ผาชะโดเป็นจุดชมวิวยอดนิยมบนเกาะอาดังในอดีตเคยเป็นจุดสังเกตการณ์ของโจรสลัดเพื่อเข้าโจมตีเรือสินค้าปัจจุบันเป็นจุดชมวิวที่สวยงามยิ่งนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของทั้งเกาะอาดังและเกาะหลีเป๊ะนอกจากนี้ยังเป็นจุดที่เหมาะแก่การชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกอีกด้วย         



➥อ่าวเมาและ


อ่าวเมาและเป็นหาดโค้งรูปพระจันทร์เสียวที่มีความเงียบสงบและความเป็นส่วนตัวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะตะรุเตาหวังจากที่ท่าการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ4กม. บริเวณชายหาดมีหน่วยพิทักษ์อุทยานบ้านพักรับรองและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับบริการนักท่องเที่ยว ปลายสุดของหาดด้านทิศใต้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์แมงดาทะเลโบราณ(Tilobite) ชื่อว่า Eosaukia burayasซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก



               พิพิธภัณฑ์และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล
➤พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาโรงเรียนกำแพงวิทยา
พิพิธภัณฑ์ในโรงเรียนมัธยมแห่งเดียวของเมืองไทยที่รวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและซากดึกดำบรรพ์ตลอดช่วงพายุคพาลิโอโซอิกโดยมีครูนกหรือครูธรรมรัตน์ นุตะธีระเป็น ผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่ขึ้น ดึกดำบรรพ์ในพื้นที่จังหวัดสตูลและเป็นผู้จุดประกายการศึกษาซากกลุ่มยุวภัณฑารักษ์จะพาทุกท่าท่องโลกดึกดำบรรพ์ข้อนอดีตกลับไปกว่าห้าร้อยล้านปี



➤พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงู
พิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้จะภูมิปัญญาชาวบ้านเช่นเครื่องปั้นดินเผาโบราณ เครื่องแก้ว จานชาม เตารีดโบราณ จุดเด่นคือหม้อ3หู อายุกว่า 4, 000 ปี



➤พิพิธภัณฑ์บ้านรากไม้
พิพิธภัณฑ์บ้านรากไม้จากภูมิปัญญาชาวบ้านนำรากไม้มาสร้างสรรค์เป็นงานเฟอร์นิเจอร์



➤พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีสตูล
พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีสตูลเป็นศูนย์ข้อมูลแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาจัดแสดงรายละเอียดและตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่พบในอุทยานธรณีสตูลอีกทั้งเรื่องภูมิประเทศหินปูนและวัฒนธรรมท้องถิ่นส่งเสริมการเรียนรู้รวางด้านวิทยาศาสตร์การมีส่วนร่วมของเยาวชนและการสร้างความตระหนักของคนในท้องถิ่น



🔼วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปันหยาบาติก

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปันหยาบาติกมีผ้าที่สื่อถึงเรื่องราวของพื้นที่และวิถีชีวิตผ่านทางลวดลายและวัตถุดิบในการผลิต แม่บ้านในพื้นที่ละงูได้รวมกลุ่มผลิตโดยใช้ที่มาจากวัสดุธรรมชาติในพื้นที่อุทยานธรณีพัฒนาและออกแบบวาดลวดลายที่สอดคล้องกับเรื่องราวทางธรณีวิทยา



🔼 ขนมบูหงาปูดะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปากปิง
กลุ่มทำขนมพื้นเมืองของสตูลมีการพัฒนารูปทรงจากสี่เหลี่ยมแบนๆให้รูปทรงสูงขึ้นคล้ายหมอนและเพิ่มสีสันให้กับขนมด้วยการทำสีจากธรรมชาติอย่างสีเขียวจากใบเตย สีแดงจากน้ำหวาน สีม่วงจากดอกอัญชัน



เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.satun-geopark.com







ความคิดเห็น

  1. สวยมากเลย ได้รับความรู้ดีค่ะ.

    ตอบลบ
  2. อยากไปเที่ยวเลยค่ะสตูลสุดยอดมาก อิอิ

    ตอบลบ
  3. อาจารย์ วาโย เลิศอินทรวิเชียรฉันท์ ว่า สวยน่ะ เป็นสื่อการสอนให้อาจารย์เลย

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น